คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน

คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน – Facebook เป็นโซเชียลมีเดียที่มียิ่งใหญ่ที่สุดในขณะนี้ ทั้งในด้านจำนวนผู้ใช้และความนิยมเชื่อว่าทุกคนต้องมีแอคเคาท์ของ Facebook แน่นอน มี active user มากถึง 1.59 พันล้านผู้ใช้ การใช้งาน Facebook แน่นอนว่าทุกคนล้วนเคยเห็นฟีเจอร์การแนะนำ “คนที่คุณอาจรู้จัก” หรือ “People You May Know” เพื่อที่จะให้เรากด “เพิ่มเพื่อน (Add Friend)” แต่บางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่าการแนะนำคนที่เราอาจรู้จักนั้น เฟสบุ๊คใช้อะไรเป็นเกณฑ์อะไรมาวัด และเฟซบุ๊ครู้ได้อย่างไรว่าเรารู้จักเจ้าของบัญชีนั้นจริง ๆ ถ้า ยากรู้คำตอบอ่านบทความนี้เลย

ที่มา คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน

คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน

คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน “คนที่คุณอาจจะรู้จัก” ช่วยให้ผู้คนสามารถพบเพื่อนใหม่ ๆ บน Facebook ได้ การแนะนำ “คนที่คุณอาจจะรู้จัก” มาจากหลาย ๆ ทาง เช่น:

  • การมีเพื่อนที่เหมือนกัน ซึ่งการแนะนำมักจะพิจารณาจากเหตุผลนี้เป็นส่วนใหญ่
  • การอยู่ในกลุ่ม, ชุมชน (Community) หรือเพจต่าง ๆ ที่เราเข้าไปกดไลค์ กดติดตาม หรืออยู่ในกลุ่มเดียวกัน
  • การที่ถูกแท็กในรูปภาพเดียวกัน เฟสบุ๊คอาจจะเข้าใจว่ารู้จักกัน
  • การใส่ข้อมูลประวัติส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น เรียนโรงเรียนตอนมัธยม มหาวิทยาลัย หรือที่ทำงาน เฟสบุ๊คจะดึงคนที่อยู่ในเครือข่ายมาแนะนำ
  • รายชื่อผู้ติดต่อบนโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้งานอัพโหลด

ทำไมเฟสบุ๊คถึงเหมือนรู้ว่าเรามีเบอร์โทรศัพท์ใครอยู่ และแนะนำชื่อเหล่านั้นให้เราบนบัญชีของเรา ซึ่งการจะอัปโหลดรายชื่อผู้ติดต่อไม่ได้เกิดขึ้นเอง แต่เกิดจากผู้ใช้เองใน 2 กรณี

  • ตอนการสมัครบัญชีเฟสบุ๊คด้วยเบอร์โทรศัพท์
  • อัปโหลดรายชื่อผู้ติดต่อบนโทรศัพท์มือถือลงใน Facebook

โดยการอัปโหลดชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์มือถือลงใน Facebook สามารถทำได้ง่ายดายมากแค่กดปุ่มเดียว ซึ่งบางทีหลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเผลอไปกด นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เฟสบุ๊คได้รับข้อมูลรายชื่อผู้ติดต่อของเรามาเก็บไว้ และนำไปสู่การแนะนำบัญชีเฟสบุ๊คของคนเหล่านั้นให้กับเรานั่นเอง

Facebook แนะนำคนที่ไม่รู้จักให้ทำไม?

ในฟีเจอร์แนะนำ “คนที่คุณอาจรู้จัก” บางครั้งหลายคนก็งงใจว่าทำไมเฟสบุ๊คถึงแนะนำใครก็ไม่รู้มาให้เราเพิ่มเพื่อน เรียนที่เดียวกันก็ไม่ใช่ เพื่อนของเพื่อนก็ไม่ใช่ อยู่จังหวัดเดียวกันก็ไม่ใช่ แล้วชื่อของพวกเขาโผล่มาได้อย่างไร ซึ่งตามปกติแล้ว คนที่คุณอาจรู้จักจะมีการอัปเดตให้อยู่เรื่อย ๆ ในเฟสบุ๊ค แต่เฟสบุ๊คก็ยอมรับว่าบางทีอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ จากที่ระบบเกิดความสับสนเอง  จึงไม่ต้องแปลกใจที่ชื่อของใครก็ไม่รู้โผล่ออกมาซึ่งเราสามารถแก้ไขได้ด้วยการกด “ลบ” ข้าง ๆ “เพิ่มเป็นเพื่อน” แค่นั้น หรือแม้แต่กระทั่ง บล็อคบุคคลเหล่านั้นไปเลย ซึ่งการบล็อกใครก็ตาม อีกฝ่ายก็จะไม่เห็นการแนะนำชื่อของเราเช่นกัน และหลังจากนี้ก็จะไม่มีการแนะนำคนคนนั้นมากวนใจเราอีก

“การเพิ่มเพื่อน (Add Friend)” บนเฟสบุ๊คเป็นเรื่องปกติมากที่หลายคนทำ เพราะโซเชียลมีเดียมีไว้เพื่อพูดคุยกันกับเพื่อน ข้อดีของการมีเพื่อนเยอะก็คือทำให้เรามีโอกาสได้รู้จักคนมากขึ้น บางคนมีเพื่อนในเฟสบุ๊คเป็นร้อย บางคนมีเป็นพัน แต่เรารู้จักทุกคนจริงรึเปล่าดังนั้นเพื่อความปลอดภัยเพิ่มเพื่อนเฉพาะคนที่เรารู้จักดีกว่า

ะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยเป็นเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนเว็บ ฮอตออร์น็อต ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด[16] และจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ชื่อ The Harvard Crimson เฟซแมชใช้ภาพที่ได้จาก เฟซบุ๊ก หนังสือแจกสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่มีรูปนักศึกษา จากบ้าน 9 หลัง โดยจะมีรูป 2 รูปให้คนเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน[17]


คนที่คุณอาจรู้จัก บน Facebook มาจากไหน มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊กเพื่อทำให้ได้สำเร็จ ซักเคอร์เบิร์กได้แฮกเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของฮาวาร์ดในพื้นที่ป้องกัน และได้คัดลอกภาพส่วนตัวประจำหอพัก ซึ่งในขณะนั้นฮาวาร์ดยังไม่มีสารบัญรูปภาพและข้อมูลพื้นฐานของนักศึกษา และเฟซแมชได้ทำให้มีผู้เข้าเยี่ยมชม 450 คน และดูรูปภาพ 22,000 ครั้งใน 4 ชั่วโมงแรกที่ออนไลน์[17] และเว็บไซต์นี้ได้จำลองสังคมกายภาพของคน ด้วยอัตลักษณ์จริง เป็นตัวแทนของกุญแจสำคัญด้านมุมมอง ที่ต่อมาได้กลายมาเป็น เฟซบุ๊ก[18]

เว็บไซต์ได้ก้าวไกลไปในหลายเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่มในมหาวิทยาลัย แต่ก็ปิดตัวไปในอีกไม่กี่วันโดยคณะบริหารฮาวาร์ด ซักเคอร์เบิร์กถูกกล่าวโทษว่าทำผิดต่อระบบรักษาความปลอดภัย การละเมิดลิขสิทธิ์ และการละเมิดความเป็นส่วนตัว และยังถูกไล่ออก แต่ท้ายที่สุดแล้วข้อกล่าวหาก็ยกเลิกไป[19] ต่อมาซักเคอร์เบิร์กได้ขยับขยายโครงการในเทอมนั้นเอง โดยได้คิดค้นเครื่องมือการศึกษาทางสังคมที่ก้าวหน้า ของการสอบวิชาประวัติศาสตร์ โดยการอัปโหลดรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โรม 500 รูป โดยมี 1 รูปกับอีก 1 ส่วนที่ให้แสดงความเห็น[18] เขาเปิดกับเพื่อนร่วมชั้นของเขา และคนเริ่มที่จะแบ่งปันข้อความกัน

ในเทอมต่อมาซักเคอร์เบิร์กเริ่มเขียนโค้ดในเว็บไซต์ใหม่ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2004 เขาได้รับแรงกระตุ้นให้ทำ เขาพูดไว้ใน The Harvard Crimson เกี่ยวกับเรื่อง เฟซแมช[20] และเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ซักเกอร์เบิร์กได้เปิดตัวเว็บไซต์ “เดอะเฟซบุก” ในยูอาร์แอล thefacebook.com[21]

 

บทความแนะนำ